โรคเก๊าท์
เป็นโรคข้อ อักเสบที่รู้จักกันมานาน ถือได้ว่าเป็นโรคที่เก่าแก่ที่สุดโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ และก็ยังพบว่าเป็นปัญหาโรคข้อที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งอุบัติการณ์ของโรคเก๊าท์ที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากมาตรฐานความเป็นอยู่ อาหาร สภาวะทางโภชนาการที่ดีขึ้นในยุคปัจจุบัน
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์จะเป็นผู้ชายที่ มีอายุเกิน 40 ปี แต่ก็อาจเกิดขึ้นในวัยใดก็ได้ และสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคเก๊าท์ มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว
โรค เก๊าท์พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยโรคเก๊าท์ประมาณ 2.4 ล้านคน ทั่วโลกเฉลี่ยพบผู้ป่วยโรคเก๊าท์ 300 รายต่อประชากร 100,000 คน
ลักษณะของโรคเก๊าท์ จะเป็นการอักเสบของข้อที่เกิดขึ้นเฉียบพลันทันทีทันใด อาการเป็นอยู่ประมาณ 5-10 วัน แล้วก็หายไป ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดเป็นโรคเรื้อรัง เกิดการอักเสบของข้อเป็นๆ หายๆ และโรคจะรุนแรงขึ้น
สาเหตุของโรค
1.ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า โรคเก๊าท์เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริกสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
2.กรดยูริคเกิดจากการย่อย สลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการ สร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน
3.ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทั้งหมด เกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือดกลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรค เกาต์
4.ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริคมากเกินไป พบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ
5.พบว่าร้อยละ 18 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์เช่นกัน และโรคพันธุกรรมที่พบน้อยบางชนิด ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคออกมาในปริมาณที่มากเกิน ได้แก่ hypoxanthine-guanine phosphoribosyl transferase deficiency (Lesch-Nyhan syndrome),glucose-6-phosphatase deficiency (von Gierke disease), fructose1-phosphate aldolase deficiency, และ PP-ribose-P synthetase variants
6.โรคเก๊าท์มักเป็นกับ ผู้ชายวัยสูงอายุ เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะมีผลทำให้กรดยูริคในเลือดไม่สูง
7.ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น ได้แก่ โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ,ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว, โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดชนิด sickle cell anemia, myeloproliferative disease
8.การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้มาก
9.ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดโรคเก๊าท์ ได้แก่ แอสไพริน aspirin, ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide, ยารักษาโรคพาร์กินสัน levodopa, ยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporine
อาการของโรคและการวินิฉัย
1. |
| อาการของโรคเก๊าท์ส่วน ใหญ่จะเกิดขึ้นเอง โดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุ ไม่ได้รับการกระทบกระแทกรุนแรงใดๆ อยู่ๆ ก็เกิดบวมแดง และร้อนบริเวณรอบๆ ข้อ อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการครั้งแรกมักเกิดตอนกลางคืน ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดมาก จนบางครั้งถึงกับเดินไม่ได้ |
2. | อาการปวดเกิดขึ้นแม้ว่าจะอยู่เฉยๆ แตกต่างจากอาการปวดข้อจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งถ้าอยู่เฉยๆ อาการปวดจะไม่ค่อยมี | |
3. |
| ข้อที่เป็นโรคเก๊าท์มักจะ เป็นข้อเดียว โดยโรคเก๊าท์มักเกิดขึ้นกับข้อทีละข้อ ไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ และการอักเสบจะไม่กระจายไปยังข้ออื่นๆ แต่ในกรณีที่เป็นโรคเก๊าท์เรื้อรัง พบว่าการอักเสบอาจเป็นทีละสอง-สามข้อได้ |
4. |
| ข้อที่พบว่าเป็นโรคเก๊าท์ ได้บ่อยที่สุด ได้แก่ ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนข้ออื่นๆ ที่พบ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อต่อของกระดูกเท้า ข้อต่อของกระดูกมือ ข้อมือ และข้อศอก |
5. |
| ข้อที่พบว่าเป็นโรคเก๊าท์ได้น้อย ได้แก่ ข้อไหล่ ข้อสะโพก และข้อสันหลัง |
6. | ผิวหนังบริเวณรอบข้อที่อักเสบ จะมีสีแดง ร้อน และบวมเป่ง | |
7. | ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย หนาวสั่น | |
8. | ถ้าไม่ได้รับการเยียวยา อาการเจ็บปวด ระยะเริ่มแรกอาจหายไปภายในสองสามชั่วโมงหรืออยู่นานเป็นสัปดาห์ อาการข้ออักเสบอาจไม่เกิดขึ้นอีกแต่ทิ้งช่วงเป็นเวลานานถึงปีได้ เมื่อคนไข้มีอายุสูงขึ้น อาการเหล่านี้จะเกิดถี่กระชั้นบ่อยกว่าเดิมและอาการเจ็บปวดทรมานคงอยู่ นานกว่าจะบรรเทาลง |
การวินิจฉัยโรค
1. |
| จากการซักถามประวัติอาการโดยละเอียด และตรวจร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อที่มีการอักเสบเกิดขึ้น |
2. | ตรวจระดับของกรดยูริคใน เลือด คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือด แต่กลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์ | |
3. |
| ตรวจสารน้ำในข้อ พบผลึกของกรดยูริค (monosodium urate monohydrate crystal) หรือที่นิยมเรียกย่อๆ ว่า MSU ลักษณะของผลึกเป็นรูปเข็มเล่มบางๆ พบอยู่ภายในเซลล์ และมองเห็นเป็น strongly negatively birefringent |
4. | ในวินิจฉัยโรคเก๊าท์ ต้องแยกโรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อออกไปก่อนเสมอ วิธีที่ดีที่สุดคือ การเจาะข้อและตรวจสารน้ำในข้อ | |
5. | โรคเก๊าท์เทียม (pseudogout) เกิดจากผลึก calcium pyrophosphate dihydrate ลักษณะอาการของโรคบางประการคล้ายกับโรคเก๊าท์ |
นวทางในการรักษาโรค การรักษาโรคเก๊าท์ในปัจจุบัน อาศัยหลักสำคัญ 3 ประการ
1. |
| รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบ พลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษา อาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้ |
2. | ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน | |
3. |
| รักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน
|
การรักษาในระยะเฉียบพลัน
1. | จุดประสงค์เพื่อรักษา อาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น | |
2. | ยาต้านการอักเสบชนิดที่ ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (indomethacin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) รับประทานในขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นลดขนาดลงเป็น 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4-10 วัน | |
3. | ยาโคลชิซิน (colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์มาเป็นเวลานาน ได้ผลดีเมื่อให้ยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของอาการ โดยใช้ยาในขนาด รับประทานวันละไม่เกิน 3 เม็ด เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน ที่สำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาด้วยวิธีนี้ มักจะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ | |
4. | การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) พบว่ามีประสิทธิภาพดี ทั้งรูปยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดเข้ากล้าม และยาฉีดเข้าข้อ เพรดนิโซโลน (prednisolone) รับประทานในขนาด 30 มิลลิกรัม ทุกวัน ค่อยๆลดขนาดลงจนสามารถหยุดยาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด ไทรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้ากล้าม | |
| การพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ พักการใช้ข้อ ยกส่วนที่ปวดบวมให้สูง และประคบด้วยความเย็น พบว่าช่วยให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้นกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว | |
5. | หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ อาหารที่มีพิวรีนสูง แอลกอฮอล์ และไม่ให้ยาลดกรดยูริคขณะที่มีอาการข้ออักเสบ |
การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด
1. | การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ >3 ครั้งต่อปี, ผู้ที่มีก้อนโทฟัส และผู้ที่มีนิ่วกรดยูริค | |
2. | ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง | |
3. | ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยม ใช้เช่นกัน คือ โปรเบเนซิด probenecid ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เพิ่มขนาดยาสูงสุดได้ถึง 1500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง | |
4. | ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าการขับกรดยูริคออกทางไตลดน้อยลง ยาที่เพิ่มการขับกรดยูริค เช่น โปรเบเนซิด (probenecid) และ ซัลฟินพัยราโซน (sulfinpyrazone) จึงได้รับความนิยมที่จะใช้เป็นยาตัวแรกมากกว่า ในกรณีที่การทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง การใช้ยาเบนซโบรมาโรน (benzbromarone) จะได้ผลดีกว่า | |
5. | ในปี 2005 ได้มีรายงานผลการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคในเลือดชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ uricase และ febuxostat พบว่าได้ผลดีมาก ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาชนิดเก่าที่เคยใช้กันมา |
นอกจากการใช้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือดแล้ว ยังควรปฎิบัติตัวตามนี้
1. | หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิด กรดยูริกสูงในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์ การรับประทานอาหารพวกเครื่องในสัตว์ | |
2. | พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ข้อสำคัญควรไปหาแพทย์เพื่อรับตรวจรักษาอยู่สม่ำเสมอ | |
3. | ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนิน ชีวิตบางประการ โดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่นตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเพิ่มปริมาณการสร้างกรดยูริกและลดการขับถ่าย กรดยูริกออกจากร่างกาย | |
4. | ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป |